โครงการมอบกายอุปกรณ์สำหรับ ช่วยเหลือคนพิการ 72,000 ชุด เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล นางสาวรัตน์ติกรณ์ ศรีสุรนันท์ พัฒนาสังคมและความมั่นความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง เข้าร่วมพิธีมอบกายอุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือคนพิการ 72,000 ชุด เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อมอบกายอุปกรณ์สำหรับคนพิการเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ได้รับโอกาส สิทธิ สวัสดิการที่เท่าเทียม ทั่วถึง เสริมศักยภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มคนพิการให้ได้รับความสะดวกในการดำเนินชีวิต สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป และดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


พม.หนึ่งเดียวจังหวัดตรังร่วม Kick off “ปฏิบัติการคนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง” และปฏิบัติการ “เดินเท้าเข้าหาพาคนเปราะบางพ้นวิกฤต”

     วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 ณ สถานีรถไฟตรัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พม.หนึ่งเดียวจังหวัดตรัง (One Home พม.จังหวัดตรัง) ร่วมจัดโครงการ “ปฏิบัติการคนไทยไม่ไร้ที่พึ่งจังหวัดตรัง” เพื่อประกาศเจตนารมณ์การช่วยเหลือคนไร้บ้าน พัฒนาครัวเรือนเปราะบางในภาวะวิกฤต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต อีกทั้งปล่อยขบวนรถศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ออกปฏิบัติการ “ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง” พร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งที่จังหวัดตรัง นางสาวโสพิญฐ์ สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง ได้กล่าวเปิดงาน และนางสาวกิติยา วงศ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดตรัง กล่าวรายงาน โดยมี นายนิตินัย อุทัยรังษี หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง นายสุวัฒน์ เวียงคำ เคหะจังหวัดตรัง พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ จากหน่วยงาน พม.หนึ่งเดียวจังหวัดตรัง ภาคีเครือข่ายและอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จังหวัดตรัง กว่า 50 คน ร่วมประกาศเจตนารมณ์ พร้อมลงพื้นที่ “เดินเท้าเข้าหา พาคนเปราะบางพ้นวิกฤต” ภายใต้การอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองตรัง

     นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด พม.ดำเนินโครงการปฏิบัติการคนไทยไม่ไร้ที่พึ่ง เพื่อประกาศเจตนารมณ์ ( Kick Off) พร้อมกันทั่วประเทศ ในการนี้ หน่วยงาน พม.หนึ่งเดียวในพื้นที่จังหวัดตรัง ได้ดำเนินกิจกรรมปล่อยขบวนคาราวานรถปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดตรัง ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดตรัง อาทิ สถานีรถไฟตรัง หอนาฬิกา และสิ้นสุดที่วงเวียนปลาพะยูน เพื่อสร้างการรับรู้การปฏิบัติงานรวมถึงการบูรณาการร่วมกันกับภาคีเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ในจังหวัดเพื่อพัฒนาบริการด้านการจัดสวัสดิการสังคมให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง มีคุณภาพและมาตรฐานขั้นต่ำของบริการสวัสดิการ สามารถสร้างรูปแบบการบริการสวัสดิการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

     นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ พม.หนึ่งเดียว จังหวัดตรังได้ลงพื้นที่ “เดินเท้าเข้าหา พาคนเปราะบางพ้นวิกฤต” ซึ่งเป็นครอบครัวเปราะบางมีสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอุปการะดูแลเป็นผู้สูงอายุ 1 คน ผู้พิการทางสติปัญญา 1 คน และเด็กในวัยเรียน 3 คน ผู้หารายได้หลักในครอบครัวประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปมีรายได้ไม่แน่นอน อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัว ซึ่งครอบครัวดังกล่าวได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจากผู้นำท้องที่ท้องถิ่น นำโดย ท่านนายกเทศมนตรีตำบลโคกหล่อ และ อพม.ในพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนคนเปราะบาง พม.จังหวัดตรัง จึงร่วมกับหน่วยงานต่างๆ วางแผนให้การช่วยเหลือตามรูปแบบ “โมเดลแก้จนคนตรัง” โดยเริ่มจากการพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่มีสภาพเก่าทรุดโทรม โดยเฉพาะประตูบ้านและห้องน้ำชำรุดผุพังมีสภาพไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัยโดยใช้การซ่อมสร้างบ้านผู้สูงอายุ สำหรับในครอบครัวมีผู้พิการอยู่ด้วย จึงวางแผนให้ผู้ดูแลผู้พิการได้มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีความมั่นคงขึ้นโดยการให้กู้ยืมเงินกองทุนฯคนพิการ ไม่มีดอกเบี้ย เพื่อประกอบอาชีพค้าขายไอศครีม ซึ่งผู้เลี้ยงดูผู้พิการเคยประกอบอาชีพค้าขายไอศครีมมาก่อนแต่ด้วยวิกฤติโควิด-19 ทำให้หยุดชะงักไปเมื่อจะทำใหม่ก็ไม่มีเงินทุน สำหรับเด็กๆในครอบครัวได้วางแผนการศึกษาและช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ฉุกเฉินก่อนในเบื้องต้น ทั้งนี้ อพม. และหน่วยงานในพื้นที่จะร่วมดูแลและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องต่อไป

     สุดท้ายนี้ พม.หนึ่งเดียวจังหวัดตรัง พร้อมขับเคลื่อนงานด้านสังคมและส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นการทำงานแบบ พม.หนึ่งเดียว ร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจกระทรวง พม. ให้บรรลุผลเกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงการป้องกันปัญหาความรุนแรงต่อสวัสดิภาพของประชาชน โดยในวันนี้ พม.จังหวัดตรังได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมงานทุกคน ช่วยกัน แอดไลน์ ESS ซึ่งเป็นระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ติดมือถือไว้ เพื่อจะได้ช่วยเหลือทุกคนได้ หากพบเห็นหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย เช่น ถูกทำร้ายร่างกาย/ถูกข่มขู่ว่าจะทำร้าย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว หรือพบเห็นผู้คลุ้มคลั่งและการมั่วสุมก่อให้เกิดเหตุร้ายสามารถกดแจ้งเหตุผ่านไลน์ ESS เพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไประงับเหตุได้อย่างทันท่วงทีด้วยระบบ Line OA ที่ช่วยสร้างความปลอดภัย แก่ตัวเองและชุมชนเพียงแชร์ให้เพื่อน แอดไลน์ @esshelpme หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/GetbF8D นอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์โทรสายด่วน 1300 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


พม. ร่วมกับเครือข่าย ปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย ของผู้ประสบปัญหาทางสังคม

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14.00 น. นางสาวโสพิญฐ์ สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง ร่วมมอบบ้านซึ่งได้รับการปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย พร้อมทั้งมอบเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ได้รับการสนับสนุนจาก CRS ให้แก่ครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม อาศัยอยู่ ต.นาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยมีนายไมตรี อินทุสุต อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมนางภาวิณี อินทุสุต (ปุณณกันต์) อดีตนายกเหล่ากาชาดจังหวัดตรัง สนับสนุนงบประมาณส่วนตัวในการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้แก่ครอบครัว จำนวน 55,000 บาท โดยมีนายศิร ศรีเมฆชัยกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่ และนายสัญญลักษณ์ อยู่รักษ์ ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองขุนทะเลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมให้กำลังใจกับครอบครัวดังกล่าว พร้อมทั้งชี้แจงระเบียบสิทธิการช่วยเหลือของกระทรวง พม.ให้ทราบ


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย

  วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 น. นายไมตรี  อินทุสุต อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และอดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยนางภาวิณี  อินทุสุต อดีตนายกเหล่ากาชาดจังหวัดตรัง เยี่ยมบ้านนางหนูขิน  รอดไกร ราษฎรหมู่ที่ 6 ตำบลนาโต๊ะหมิง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ซึ่งได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย จากงบประมาณโดยนายไมตรีฯ และภริยา จำนวน 30,000 บาท และงบประมาณโครงการปรับสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย ปี พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง จำนวน 20,000 บาท พร้อมนี้นายไมตรีฯ และนางภาวิณีฯ ได้มอบแว่นตาให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางในพื้นที่จำนวน 150 ราย

          ในการนี้ นางสาวโสพิญฐ์  สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง มอบหมายนายนิติภัทร  จอมเมือง นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ นางสาวรุจิรา  สมจริง นักพัฒนาสังคมปฏิบัติการ และนางสาวสุธาดา  ยกฉวี นักพัฒนาสังคม เยี่ยมบ้านให้กำลังใจ และมอบเครื่องอุปโภคบริโภคจำนวน 1 ชุด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือข่าย CSR (บริษัทตรังยูซี จำกัด)  รวมทั้งประชาสัมพันธ์ภารกิจของหน่วยงานกระทรวง พม. และระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม (ESS Help Me) แก่ผู้เข้าร่วมงาน ในส่วนของสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดตรัง ได้มอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว และเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 1 ชุด โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโต๊ะหมิง และเจ้าหน้าที่ ผู้นำท้องที่ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตลอดจนเครือข่ายในพื้นที่เข้าร่วม


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


พิธีรับพระราชทานเข็มเครื่องหมาย กรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์

        วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 08.30 น. นางสาวโสพิญฐ์ สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง เข้าร่วมพิธีรับพระราชทานเข็มเครื่องหมายกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ประจำจังหวัดตรัง เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี 23 สิงหาคม 2566 วันพระราชทานกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อพระราชทานเข็มเครื่องหมายแก่กรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดตรัง จำนวน 14 ราย ทั้งนี้ กล่าวรายงานโดย นายสกุล ดำรงเกียรติกุล ปลัดจังหวัดตรัง  และนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานประกอบพิธีอัญเชิญเข็มเครื่องหมายกรรมการมูลนิธิฯ แก่คณะกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดตรัง  ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดตรัง


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง รวมพลังร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม

        วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 เวลา 11.00 น. ณ หอประชุมโรงเรียนเทศบาล 1 (สังขวิทย์) อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำแก่เด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง ในการมีส่วนร่วมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม โดยมีนางสาวโสพิญฐ์ สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และมีนางสาวนูรียัน นิเต๊ะ หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง เป็นผู้กล่าวรายงาน และวัตถุประสงค์ของโครงการฯ กลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง ทั้ง 10 อำเภอ ๆ ละ 10 คน รวม 100 คน เจ้าหน้าที่ ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 110 คน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ประจำปีงบประมาณ 2566

        นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวว่า เด็กและเยาวชน คือทรัพยากรทุนมนุษย์ที่กำลังเติบโต เป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การวางรากฐานให้มีความมั่นคงแข็งแรง ถือเป็นการเริ่มต้นของการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ประกอบด้วยเก่ง ดี มีสุข รวมทั้งต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม พึงประสงค์ของเด็กและเยาวชนพึงมี และการมีจิตสาธารณะ (จิตอาสา) เพื่อให้สามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

       

        นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดตรังมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเป็นนักสังคมสงเคราะห์น้อย เป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์น้อย (อพม.) และสิ่งสำคัญคือให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดตรัง มีภาวะความเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง รวมทั้งทำหน้าที่สอดส่องดูแลผู้ที่ประสบปัญหาทางสังคมในชุมชน หรือต้องการความช่วยเหลือเบื้องต้น โดยการทำหน้าที่ประสานส่งต่อข้อมูลแก่หน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของตนเอง

         

         นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับกิจกรรมวันนี้ถือเป็นวัคซีนที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนในจังหวัดตรัง ในฐานะตัวแทนแกนนำของโรงเรียน หรือแกนนำของเด็กและเยาวชน ขอให้นักเรียนทุกคนนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ ไปช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ตามศักยภาพที่น้องๆ ทุกคนมีในชุมชนของตนเอง หรือชุมชนใกล้เคียงต่อไป

ทั้งนี้ พม.ตรัง พร้อมขับเคลื่อนงานด้านสังคมและส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หากประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนสามารถโทรติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์โทรสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


พม.ตรัง “หนุนเสริมคนพิการ มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ ไม่มีดอกเบี้ย”

            วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ชั้น 1 สำนักงานเทศบาลนครตรัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการใช้บริการของกองทุนส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการที่กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพรายใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 2 โดยมีนางสาวโสพิญฐ์ สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง พบปะ ให้กำลังใจคนพิการและผู้ดูแล คนพิการ พร้อมทั้งเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ฯ และนางสาวพรปวีณ์ อุไรสวัสดิ์ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์บริการคนพิการจังหวัดตรัง เป็นผู้กล่าวรายงาน

            นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการประกอบอาชีพ ซึ่งได้จัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เพื่อเป็นทุนสำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การสงเคราะห์ช่วยเหลือ การฟื้นฟูสมรรถภาพ การศึกษา การให้บริการกู้ยืมเงิน เพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพอิสระหรือการขยายกิจการสำหรับคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ โดยไม่มีดอกเบี้ย สามารถดำรงชีวิตด้วยตัวเองมีรายได้และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เป็นภาระของสังคม

           นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับคนพิการจังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 20,679 ราย แยกเป็นเพศชาย จำนวน 11,118 ราย เพศหญิง 9,561 ราย ได้ใช้บริการของกองทุนมาแล้ว จำนวน 2,669 ราย และยังมีข้อผูกพันกับกองทุน จำนวน 1,592 ราย ซึ่งส่วนใหญ่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ขอกู้เงินไปเพื่อประกอบอาชีพเกษตร ประมง เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และอื่นๆ ยังขาดความรู้ความเข้าใจการใช้บริการของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้บริการกู้เงินไม่มีดอกเบี้ยจากกองทุนฯ ข้อผูกพันตามสัญญาเงินกู้คนพิการ แนวทางการรับชำระเงินกู้คนพิการ แนวทางการปฏิบัติเมื่อตกเป็นลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ แนวทางการรับสภาพหนี้/ปรับโครงสร้างหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้อีกด้วย

          นางสาวโสพิญฐ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ในวันนี้ ได้มอบเงินกู้ยืมเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ ที่ได้รับอนุมัติให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ จำนวน 15 ราย เป็นเงิน 1,042,000 บาท (หนึ่งล้านสี่หมื่นสองพันบาทถ้วน) กระทรวง พม. จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเงินที่ได้รับในการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ขอกู้ไว้ และกระทรวง พม. พร้อมขับเคลื่อนงานด้านสังคม และส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หากประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนสามารถโทรติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์โทรสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


พม.จังหวัดตรัง หนุนสภาเด็กและเยาวชนร่วมป้องภัยการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่ที่แฝงมากับสื่อออนไลน์

      ในวันที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องภัชรี โรงแรมวัฒนา พาร์ค อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง จัดโครงการ “เสริมสร้างความตระหนักรู้แก่เด็กและเยาวชนให้รู้เท่าทันภัยการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่” โดยมี นางสาวโสพิญฐ์ สุวรรณหงส์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และนางจิรพา เรนเรือง หัวหน้ากลุ่มการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นผู้กล่าวรายงาน

          นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวว่า โครงการที่จัดขึ้นในวันนี้ มุ่งสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และครู เป็นเครือข่ายเฝ้าระวังภัยการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่ที่แฝงมากับสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายช่องทาง โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนสภาราชินีตรัง ตลอดจนผู้นำสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดตรัง กว่า 60 คนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ ทำให้เด็ก เยาวชน และคุณครูที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ เข้าใจ และรู้เท่าทันภัยจากการค้ามนุษย์รูปแบบใหม่ จากคณะวิทยากรบรรยายที่มีความรู้ ความชำนาญ คลุกคลีอยู่กับงานที่มุ่งป้องกันและแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ อัยการ ตลอดจนหัวหน้าหน่วยงาน One Home พม.ในจังหวัดตรังซึ่งดูแลคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อจากภัยค้ามนุษย์ในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้มีโอกาสร่วมกันระดมความคิดเห็นวิเคราะห์สถานการณ์การค้ามนุษย์ที่อาจเป็นภัยใกล้ตัวอีกด้วย

          นางสาวโสพิญฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การค้ามนุษย์จังหวัดตรัง มีสถานะเป็น “ ทางผ่านและปลายทาง” มีการอพยพแรงงานไทย และต่างประเทศ โดยการเคลื่อนย้ายจากชายแดน หรือจังหวัดใกล้เคียง ผ่านไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เข้าถึงทุกคนมากขึ้น อาจทำให้เด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ได้ จึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน และครู ตลอดจนเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังทางสังคมให้มีความสงบสุข ทุกคนปลอดภัยจากการค้ามนุษย์ต่อไป

         นางสาวโสพิญฐ์ ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า พม.จังหวัดตรัง พร้อมขับเคลื่อนงานด้านสังคม และส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หากประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนสามารถโทรติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์โทรสายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


งานวันคนพิการสากลจังหวัดตรัง ประจำปี 2564

          วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันคนพิการสากลจังหวัดตรัง ประจำปี 2564 โดยมีนางมณี สารผล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ อาคารโดมอเนกประสงค์วิทยาลัยเทคนิคตรัง ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยคนพิการ ครอบครัวคนพิการ อาสาสมัครและเครือข่ายด้านคนพิการ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สังเกตการณ์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 300 คน กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การออกบูธของหน่วยงานภาครัฐ การแสดงผลงาน และผลิตภัณฑ์ของคนพิการ การจัดบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การให้คำปรึกษาด้านการประกอบอาชีพของคนพิการ การสมัครงานของคนพิการ การบริการให้คำแนะนำด้านการศึกษาของคนพิการ มอบเกียรติบัตรให้แก่คนพิการตัวอย่างจังหวัดตรัง ประจำปี 2564 มอบใบอนุญาตศูนย์บริการคนพิการทั่วไป มอบป้ายสัญลักษณ์สถานที่ดีเด่นที่เชื่อมต่อคนพิการ มอบเกียรติบัตรสถานประกอบการที่มีการจ้างงานคนพิการดีเด่น มอบกายอุปกรณ์ได้แก่รถสามล้อโยก การจับฉลากของขวัญ การแสดงของเด็กนักเรียนพิการ การแสดงของคนพิการโดยองค์กรคนพิการ


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]


พม.ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเข้าถึงสิทธิ์ “เราชนะ”

          สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง ร่วมกับธนาคารกรุงไทย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงพื้นที่ให้บริการลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนเข้าถึงสิทธิ์ตามโครงการ “เราชนะ” ถึงบ้านประชาชนกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ป่วยติดเตียง และคนพิการติดเตียง ที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ ในพื้นที่จังหวัดตรัง รวมทั้งสิ้น 840 คน


Share:

[DISPLAY_ULTIMATE_SOCIAL_ICONS]